กิมพิลเถระ
พระกิมพิลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พระศากยบุตรทั้งหลาย ผู้เป็นสหายกันในปาจีนวังส-ทายวัน ได้พากันละโภคะไม่น้อย มายินดีในการเที่ยวบิณฑบาต ปรารภความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ละความยินดีในโลก มายินดีอยู่ในธรรม
อุบาลีเถระ
พระอุบาลีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการ-ศึกษา ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ไม่เกียจคร้าน
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการ ศึกษา ควรพำนักอยู่ในหมู่สงฆ์ เป็นผู้ฉลาดศึกษาพระวินัย
ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อการ- ศึกษา ต้องเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้าออกตา
ท่านพระอุบาลีเถระเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย พระเถระรับกรรมฐานในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียว เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต เรียนพระวินัย-ปิฎกในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียวกล่าวเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ เรื่องพระทารุกัจฉกะ เรื่องพระอัชชุกะและเรื่องท่านพระกุมารกัสสป เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย
ในกาลก่อน ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระนี้บังเกิดในครอบครัว ณ กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา วันหนึ่งเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในเรือนกัลบก บิดามารดาตั้งชื่อท่านว่า อุบาลีกุมาร ท่านเป็นพนักงานแต่งพระองค์กษัตริย์ คือ เจ้า ๖ พระองค์ เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ออกบวชพร้อมกับเจ้า ๖ พระองค์ ซึ่งกำลังออกทรงผนวช ท่านบรรพชาอุปสมบทแล้วขอให้พระศาสดาตรัสสอนกรรมฐาน กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-ผู้เจริญ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่าเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ป่าก็จักเจริญแต่ธุระอย่างเดียว แต่เมื่อเธออยู่ในสำนักเรา วาสธุระ คือ การอบรม, คันถธุระ คือ การเล่าเรียนก็จักบริบูรณ์ พระเถระรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว ทำการในวิปัสสนา ไม่นานก็บรรลุพระอรหัต ครั้งนั้น พระศาสดาทรงให้ท่านเรียนพระ-วินัยปิฎกทั้งสิ้นด้วยพระองค์เอง ต่อมาท่านวินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่อง พระศาสดาประทานสาธุการรับรองในเรื่องแต่ละเรื่องที่ท่านวินิจฉัย แล้วทรงกระทำเรื่องทั้ง ๓ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้วให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย
บรรดาศากยภิกษุ ๖ รูปนั้น ท่านพระภัททิยะ ได้เป็นพระอรหันต์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธะ เป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ภายหลังทรงสดับมหาปุริสวิตักกสูตรได้บรรลุพระอรหัต พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต ท่านพระอานนท์นั้น ภายหลังทรงผนวชไม่นาน ได้สดับธรรมกถาในสำนักของท่านปุณณมันตานีบุตรแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน
พระปุณณมันตานีบุตร รถวินีตสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิจำนวนมากจำพรรษาแล้วในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-พระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในชาติภูมิ ภิกษุรูปไหน ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเองเป็นผู้มัก-น้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย, เป็นผู้สอน แนะให้เข้าใจ ชี้ชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติภูมิ ท่านพระปุณณ-มันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรีนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ณ ที่ใกล้จึงดำริว่า เป็นลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่านปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน กล่าวยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาการกระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตร แล้วสนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่สำราญพระอัธยาศัย ณ กรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ท่านจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถี ถึงพระวิหารเชตวันแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยังพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมิกถา
ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถาแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้-มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณ เข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่านพระปุณณ- มันตานีบุตรไปสู่ป่าอันธวัน แล้วก็นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน
ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระ-ปุณณมันตานีบุตร ครั้นแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราหรือ, ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า อย่างนั้นผู้มีอายุ
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทิฏฐิ- วิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกังขา-วิตรณวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อมัคคา-มัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อปฏิ-ปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อญาณ- ทัสสนวิสุทธิหรือ
ปุ. ไม่ใช่
สา. เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่ออะไรเล่า
ปุ. ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่ออนุปาทา-ปรินิพพาน
สา. สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. จิตตวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ป. ไม่ใช่
สา. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ปุ. ไม่ใช่
สา. ผู้มีอายุ ผมถามว่า สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน จิตตวิสุทธิ... ทิฏฐิวิสุทธิ.... กังขาวิตรณวิสุทธิ.... มัคคมัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.... ปฏิปทาญาณทัสสน- วิสุทธิ.... ญาณทัสสนวิสุทธิ.... ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพานท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า
ปุ. ผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิ ว่าเป็นอนุปาทา-ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่า ทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานนี้ ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าจักทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่า ทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ปุถุชนจะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ผู้มีอายุผมจะอุปมาให้ท่านฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา
อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสา-วัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวังไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง
จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง
ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม
ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่
ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า
ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก
ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
ถ้าพวกมิตรอำมาตย์หรือพระญาติจะพึงทูลถามพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากกรุงสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง
สา. ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง คือ เมื่อเรากำลังอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ไปถึงเมืองสา-เกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด
ปุ. ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น ฯลฯ ... ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระ-ผู้มีพระภาคเจ้าเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตร เลือกเฟ้นมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าวแก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหม-จรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเทิดท่านพระปุณณมัน-ตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็นนั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วยที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร